Lecture

กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์ 
           การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลเป็นพื้นฐานในการออกแบบเว็บไซท์ที่ดี ได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ ระบบการทำงานแบบจำลอง ระบบเนวิเกชัน และอินเตอร์เฟสของเว็บ   ดังนั้น การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการออกแบบเว็บไซต์  การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล คือการพิจารณาว่า เว็บควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย เนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น นำมาจัดกลุ่มให้เป็นระบบ
Phase1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ(Research)
1. รู้จักตัวเอง-กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม

2. เรียนรู้ผู้ใช้-ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการ
3. ศึกษาคู่แข่ง-สำรวจการแข่งขันและการเรียนรู้คู่แข่ง
Phase2 : พัฒนาเนื้อหา(Site Content)

4. สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
5. หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา
Phas3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซท์(Site  Structure)

6. จัดระบบข้อมูล
7. จัดทำโครงสร้างข้อมูล
8. พัฒนาระบบเนวิเกชัน
Phase4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ(VisualDesign)

9. ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ
10. พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย
Phase5 : พัฒนาและดำเนินการ(Production&Operation)
11. ลงมือพัฒนาเว็บ

12. เปิดเว็บไซท์
13. ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง
การสร้างเอกลักษณ์


   การการวางแนวความคิดของเว็บไซต์ที่ชัด ของเว็บไซต์  
1. การวางคอนเซพท์ของตัวเว็ บไซต์   เจนจะช่วยทำให้การวางรูปแบบและองค์ประกอบต่างๆที่จะข่วยทำให้คนทั่วไปสามารถจดจำได้อย่างชัดเจนและระลึกได้ หากแนวความคิด (Concept) ของคุณไม่สอดคล้องกับตัวเว็บไซต์ก็จะทำให้ผู้ใช้บริการอาจจะเกิดความไขว้เขวในการจดจำเว็บไซต์หรือแบรนด์ของคุณ
2. ลักษณะการออกแบบเว็บไซต์ รูปแบบลักษณะการออกแบบเว็บไซต์ต้องมีความโด่นเด่น และมีลักษณะเฉพาะตัวของกิจการ เช่น
        - การใช้สีสัน ที่มีความเป็นเฉพาะตัวและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้บริการ 
        -  การวางรูปแบบบหรือเลย์เอาท์ ของตัวเว็บไซต์ ให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบของข้อมูลและรูปแบบของเว็บไซต์ 
       -  การใช้โลโก้ที่มีความโดดเด่น และเข้ากับรูปแบบและบริการของเว็บไซต์ การออกแบบโลโก้ต้องมีลักษณะเฉพาะและสามารถจดจำได้ง่าย ตัวอย่าง เช่นเว็บไซต์ Amazon.com มีการรูปแบบที่มีความเฉพาะโดดเด่นเฉพาะตัว โดยเฉพาะรูปแบบของเมนูที่มีความเฉพาะตัว และสามารถใช้งานได้ง่าย
3. สไตล์การเขียน ลักษณะการเขียนข้อมูลภายในเว็บไซต์ถือว่าเป็นรูปแบบที่น่าสนในอีกรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้ใช้บริการสามารถจดจำเว็บไซต์กิจการได้ ด้วยลักษณะการเขียนข้อมูลที่อยู่ภายในเว็บไซต์ โดยรูปแบบและลักษณะการเขียนนั้นมีหลายรูปแบบและหลายสไตล์ เช่นใช้คำพูดแนวกันเองแนวตรงไปตรงมา หรือ อาจจะเป็นรูปแบบที่สนุกสนาน ยกตัวอย่างเช่น ลีลาการเขียนคอลัมภ์ของ ซ้อเจ็ด ในเว็บไซต์www.Manager.co.th ที่มีความดุเด็ดเผ็ดมันทำให้มีหลายๆคนนิยมและชอบที่เข้าไปติดตามอ่านอยู่เป็นประจำ


4. มีความสอดคล้องกับแบรนด์สินค้าหรือบริการหลัก   
      หากกิจการมีสินค้าหรือ   บริการที่มีลักษณะของแบรนด์สินค้าอย่างชัดเจน รูปแบบของเว็บไซต์ก็ควรจะสอดคล้องกับรูปแบบของแบรนด์ของกิจการด้วย ด้วยทั้งสีหรือองค์ประกอบต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ของHutch (www.Hutch.co.thนั้นได้มีการนำ Brand Identity มาแสดงในเว็บไซต์ได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ทำให้ผู้ที่เข้ามาภายในเว็บไซต์Hutch เมื่อแรกเห็นโดยยังไม่เห็นโลโก้ของHutch ก็สามารถบอกได้ทันทีว่าเป็นเว็บไซต์ของ Hutch เพราะด้วยรูปแบบและองค์ประกอบที่Hutchได้สร้างไว้ในสื่ออื่นๆ ซึ่งสร้างความต่อเนื่องให้กับผู้ใช้บริการบนเว็บไซต์ด้วย


5. การออกแบบและจัดสร้างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวเองอย่างชัดเจน    (Identity) จะช่วยสร้างคุณค่าของเว็บไซต์และช่วยทำให้ลูกค้า ที่เข้ามาใข้บริการสามารถจดจด และคุ้นเคยต่อเว็บไซต์ของกิจการได้ดีมาก ซึ่งการวางแผนที่ชัดเจนก่อนการสร้างเว็บไซต์ก็เพื่อ ต้องการให้เว็บไซต์มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของตัวเองเป็นไปในรูปแบบไหนตั้งแต่แรก จะช่วยให้การพัฒนาเว็บไซต์นั้นมีแนวทางที่ชัดเจน และสามารถพัฒนาเว็บไซต์และข้อมูลทั้งหมดภายในเว็บไซต์เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ดี
การออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์
ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ
                เมื่อจอมอนิเตอร์ทำการแสดงผลรูปภาพในเว็บเพจ พิกเซลในรูปภาพจะจับคู่กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับพิกเซลตามความละเอียดของหน้าจอ ทำให้หน่วยการวัดรูปภาพในเว็บจึงเป็นพิกเซล ไม่ใช่นิ้วหรือเซ็นติเมตรแต่อย่างใด ดังนั้นในกระบวนการ ออกแบบกราฟิกและรูปภาพต่างๆ คุณจึงความลดขนาดเป็นพิกเซลไว้เสมอ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดกราฟิกกับองค์ประกอบอื่นๆ ในหน้าเว็บ รวามถึงขนาดวินโดว์ของบราวเซอร์อีกด้วย
ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพ
                เนื่องจากรูปภาพในเว็บโดยส่วนใหญ่จะถูกสแดงผ่านหน้าจอมอนิเตอร์ ในทางเทคนิคที่ถูกต้องแล้ว ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพจึงต้องเป็น “Pixels per inch” (ppi) แต่ก็มีระบบการวัดอีกแบบหนึ่งคือ “Dot per inch (dpi) ที่ใช้ความละเอียดของรูปถาพที่พิมพ์ออกมา ซึ่งความละเอียดที่ได้จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องในทางปฏิบัติ หน่วย ppi กับ dpi อาจใช้แทนกันได้ ทำให้เป็นที่ยอมรับว่าความละเอียดของรูปภาพในหน้าจอมีหน่วยเป็น dpi แทนท่จะเป็น ppi ที่ถูกต้อง
 
APINAN © 2011 | Designed by Chica Blogger, in collaboration with Uncharted 3, MW3 Forum and Angry Birds Online